คนข้ามเพศ เมื่อโลกไม่ได้มีแค่ 2 เพศ 

คำจำกัดความของเพศสภาพในโลกปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาก และหลากหลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการจำกัดความใหม่ที่เป็นตัวแทนอัตลักษณ์ทางเพศอีกมากมายหลายคำ ในไทยเราคุ้นชินกับคำว่า กะเทย แต่มื่อเราพูดถึงคำที่เรียกกับเป็นทางการ คำว่าผู้หญิงข้ามเพศ, สาวทรานส์  และ ผู้ชายข้ามเพศ ถูกหยิบยกและนำมาใช้ในโลกปัจจุบันมากขึ้น โดยเราได้เรียบเรียงและได้รับคำแนะนำจากเอลี อาร์. กรีน เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาทางเพศที่มหาวิทยาลัยไวเดนเนอร์ในเพนซิลเวเนีย และลูคา เมาเรอร์ จากศูนย์เพื่อการศึกษา การเข้าถึง และการให้การบริการเกี่ยวกับ LGBTQ ที่วิทยาลัยอิททาคาในนิวยอร์ก ซึ่งทั้งสองเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Teaching Transgender Toolkit คนข้ามเพศ (Transgender) เรามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ทรานส์ ( Trans )”  เป็นคำคุณศัพท์เรียกคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด คำๆ นี้ยังอาจหมายถึง อัตลักษณ์ที่หมายถึงผู้ชายข้ามเพศ ซึ่งเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่รู้สึกและคิดว่าตนเป็นผู้ชาย รวมไปถึงคนที่เพศกำเนิดเป็นหญิง แค่รู้สึกนึกคิดว่าตนเป็นผู้หญิง 

ถ้าให้อธิบายในความเข้าใจอีกความหมายหนึ่ง ทรานส์  คือบุคคลที่พึงพอใจกับเพศภาวะหรืออัตลักษณ์ทางเพศที่ ตรงข้ามกับเพศกําเนิดของตน เป็นความหมายกว้างๆ ที่บ่งบอกถึงความแตกต่างทางอัตลักษณ์ทาง เพศของบุคคลที่ลักษณะทางชีวภาพไม่สัมพันธ์กับความรู้สึกของบุคคลนั้น บุคคลในกลุ่มนี้จึงอาจมี ความรู้สึกว่าตนเกิดมาผิดเพศภาวะ โดยที่การรับรู้นี้อาจไม่ได้มีความสัมพันธ์กันกับความปรารถนาใน การผ่าตัดแปลงเพศก็ได้

ผู้ที่มีจิตใจไม่ตรงตามเพศกำเนิด (Transsexual) 

หมายถึงผู้ที่อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพศ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้ระบุบุคคลที่ ต้องการเปลี่ยนร่างกายให้สอดคล้องกับเพศภาวะทางจิตใจของตน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้วย เครื่องสําอาง การใช้ฮอร์โมน หรือการผ่าตัดแปลงเพศ ได้แก่ ชายข้ามเพศ (Female-to-Male) คือ คนที่เกิดมาเป็นเพศหญิงโดยกําเนิดแต่มองว่าตนเป็นชายในภายหลัง อาจเรียกว่า Transman ก็ได้ และหญิงข้ามเพศ (Male-to-Female) คือ คนที่เกิดมาเป็นเพศชายโดยกําเนิดแต่มองว่าตนเป็นหญิง ในภายหลัง หรือที่เรียกว่า Transwoman ก็ได้เช่นกัน ซึ่งบุคคลเหล่านี้กําลังอยู่ในขั้นตอนแปลงเพศ หรือแปลงเพศไปแล้วก็ได้ ในปัจจุบันยังมีการใช้คำนี้อยู่บ้างแต่โดยทั่วไปจะใช้คำว่า “ข้ามเพศ” มากกว่า

 

อ้างอิงจาก:

National Geographic Gender Revolution 2017
บุษกร สุริยสาร, 2557; APA, 2015; Hilton-Morrow & Battles, 2015; “What's in a word,” n.d