คนในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีวิธีคิดในการจําแนกสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในลักษณะที่เป็นคู่ตรงกันข้าม (Binary Opposition) ซึ่งสังคมมองว่า มนุษย์ตามธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็นสองพวก คือ เพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเป็นการจําแนกตามเพศ (Sex) ที่สื่อถึงเพศในรูปของคุณลักษณะทางชีวภาพ โดย มีเกณฑ์ชี้วัดทางชีวภาพ เช่น โครโมโซมเพศและต่อมเพศ เป็นต้น แต่เมื่อพูดถึง เพศภาวะ (Gender) จะหมายถึง เพศในรูปแบบของความเข้าใจในทางวัฒนธรรมหรือบทบาทหน้าที่โดยที่ไม่ได้มีความ เกี่ยวข้องกับเพศทางชีววิทยา ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เพศภาวะเป็นตัวบ่งชี้ เนื่องจากเพศภาวะจะสามารถ สะท้อนถึงลักษณะเฉพาะที่แต่ละสังคมและวัฒนธรรมได้กําหนดว่าเหมาะสมและสอดคล้องต่อ พฤติกรรมของชายและหญิงหรือไม่ เช่น เสื้อผ้า ทรงผม กิริยาท่าทาง เสียง และลักษณะทางการ สื่อสาร เป็นต้น จึงเห็นได้ว่า เพศและเพศภาวะไม่สามารถแยกจากกันได้อย่างชัดเจน ดังนั้น เมื่อ กล่าวถึงเพศและเพศภาวะจึงไม่ใช่เรื่องผิดถ้าหมายถึงความเป็นชายหรือความเป็นหญิง ในขณะที่อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) หมายถึง ความรู้สึกล้ำลึกภายในของบุคคล เกี่ยวกับเพศภาวะ ซึ่งอาจสอดคล้องหรือตรงข้ามกับเพศโดยกําเนิด รวมทั้งความรู้สึกทางสรีระและ การแสดงออกทางเพศภาวะ เช่น การแต่งกาย การพูดจา และกิริยาอื่นๆ ซึ่งหากสามารถเลือกได้ อาจ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขลักษณะและการทํางานทางกายภาพด้วยวิธีทางการแพทย์ อัตลักษณ์ทางเพศจึงเป็นเรื่องของภายในตัวบุคคล โดยที่บุคคลอื่นอาจไม่รับรู้หรือ มองเห็นได้จากลักษณะทางกายภาพหรือภายนอกของคนๆ นั้น อัตลักษณ์ทางเพศจึงเป็นสิ่งที่บุคคลให้คําจํากัดความเกี่ยวกับเพศ ภาวะของตน โดยไม่จําเป็นต้องสอดคล้องกับเพศทางกายภาพที่ถูกกําหนดเมื่อเราเกิดมา

อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity)

โดยปกติจะเริ่มบ่งช้ำได้ตอนอายุสามขวบ เป็นความรู้สึกเชิงลึกในจิตใต้สำนึกของการเป็น ผู้ชาย ผู้หญิง หรือทั้งสองเพศ รวมไปถึงความลื่นไหลทางเพศ หรือไม่ใช่เพศใดเพศหนึ่ง ในส่วนนี้คนที่เป็นชายจริง หญิงแท้ หรือคนข้ามเพศมักจะไม่มีแนวคิดเช่นนั้น กล่าวโดยสรุปง่ายๆ อัตลักษณ์ทางเพศ จะแบ่งออกเป็น

  • ผู้หญิง (Woman) คนที่มีอัตลักษณ์แสดงตัวเป็น ผู้หญิง
  • นอนไบนารี่ (Non-binary) คนที่มีอัตลักษณ์แสดงตัวเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงหรือไม่ใช่ทั้งคู่
  • ผู้ชาย (Man) คนที่มีอัตลักษณ์แสดงตัวเป็น ผู้ชาย

เพศในเชิงชีววิทยา (Biological Sex)

จะกำหนดเพศขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่น อวัยวะเพศ โครโฒโซน ต่อมบ่งเพศ และฮอร์โมนที่เข้ามามีบทบาทร่วมกัน ส่วนใหญ่จะแบ่งได้เป็นเพศ ชาย และ หญิง แต่หนึ่งในร้อยอาจเกิดมามีสองเพศ หรือภาวะเพศกำกวม (Intersex)

เพศหญิง (Female)

โครโมโซมเอกซ์เอกซ์ รังไข่ อวัยวะเพศหญิง และลักษณะทางเพศแบบทุติยภูมิของเพศหญิง เช่น การมีร่างกายเล็กกว่าเพศชาย ร่างกายมีร้อยละของไขมันสูง สะโพกกว้างขึ้น การเจริญของต่อมน้ำนมและเต้านม ฮอร์โมนเพศที่สำคัญในเพศหญิงคือเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน

เพศกำกวม หรือมีสองเพศ (Intersex) 

คนที่เกิดมามีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากปกติ จนไม่สามารถระบุเพศชัดเจนได้ เกิดขึ้นได้จากการผสมผสานระหว่างโครโมโซมเนื้อเยื่ออัณฑะะและรังไข่ อวัยวะเพศ, โครโมโซม หรือต่อมเพศ ที่ไม่จัดเข้าอยู่ในเพศชายและหญิงอย่างชัดเจน

เพศชาย (Male) 

โครโมโซมเอกซ์วาย อัณฑะ อวัยวะเพศชาย และลักษณะทางเพศแบบทุติยภูมิของเพศชาย การมีร่างกายสูงใหญ่ โครงร่างกายมีกล้ามเนื้อมากขึ้น เสียงห้าวทุ้ม มีขนตามใบหน้าและลำตัว ไหล่กว้างขึ้น การเจริญของลูกกระเดือก ฮอร์โมนที่สำคัญในเพศชายคือแอนโดรเจนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทสโทสเตอโรน

การแสดงออกทางเพศ (Gender Expression)

คือ  การแสดงออกทางเพศด้วยการแต่งกาย พฤติกรรม ภาษา และสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้ ซึ่งในลักษณะเฉพาะด้านการแสดงออกทางเพศในแต่ละสังคมจะมีความแตกต่างไปวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับแต่ละวัฒนธรรมนั้นด้วยเช่นกัน

  • ความเป็นหญิง (Female) การแสดงออกและนำเสนอตัวตนเป็นผู้หญิง สัมพันธ์กับการเป็นผู้หญิงตามแต่ละวัฒนธรรมนั้นๆ ด้วย
  • ความก้ำกึ่งทางเพศ (Androgynous) การผสมผสานของความเป็นชายและหญิง หรือการแสดงออกทางเพศที่ไม่ตรงตามแบบแผน
  • ความเป็นชาย (Male) การแสดงออกและนำเสนอตัวตนเป็นผู้ชาย สัมพันธ์กับการเป็นผู้ชายตามแต่ละวัฒนธรรมนั้นๆ ด้วย

สําหรับเพศวิถี (Sexual Orientation) หมายถึง ความสามารถของบุคคลเกี่ยวกับแรงดึงดูดอันลึกล้ำด้านอารมณ์ เสน่หาด้านเพศและความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลซึ่งมีเพศภาวะที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันหรือมีมากกว่าหนึ่งเพศภาวะ

เป็นคําที่ใช้ครอบคลุมเมื่อต้องการอ้างถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถูกดึงดูดทางเพศ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับความรักใคร่หรือ ความสัมพันธ์ทางเพศขึ้นมา (“What's in a word,” n.d.) โดยบุษกร สุริยสาร อธิบายว่า เพศวิถี คือความสามารถของบุคคลที่เกี่ยวกับแรงดึงดูดอันล้ำลึกด้านอารมณ์ เสน่หา ด้านเพศและความสัมพันธ์ทางเพศ กับบุคคลที่มีเพศภาวะที่แตกต่างกันหรือเหมือนกัน หรือมีมากกว่าหนึ่งเพศภาวะ นอกจากนั้น APA ได้ให้คําจํากัดความของเพศวิถีว่า เป็นองค์ประกอบของอัตลักษณ์ของ บุคคลที่รวมถึงความดึงดูดทางอารมณ์หรือทางเพศของบุคคล และพฤติกรรมที่อาจเกิดจากผลลัพธ์ ของความดึงดูดนั้น

เพศวิถียังรวมถึงจินตนาการของบุคคล ความรู้สึก และพฤติกรรมที่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา ซึ่งเพศวิถีในมุมมองปัจจุบันก็มีหลากหลาย เช่น มีทั้งกับเพศตรงข้าม (Heterosexuality) กับเพศเดียวกัน (Homosexuality) กับทั้งสองเพศ (Bisexuality) กับทุกเพศ (Pansexuality) กับหลายเพศ แต่ไม่ทุกเพศ (Polysexuality) และไม่มีอารมณ์รักกับเพศใดเลย (Asexuality) ก็ได้ รวมถึงคนบางกลุ่มที่นิยามตัวเองว่าเควียร์ (Queer) ซึ่งเป็นคําที่เรียกรวมคนที่ไม่ใช่รักต่างเพศ โดยที่ครอบคลุมทั้งอัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออกทางเพศที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานหลักของสังคม

 

อ้างอิงจาก:

National Geographic Gender Revolution 2017
บุษกร สุริยสาร, 2557; APA, 2015; Hilton-Morrow & Battles, 2015; “What's in a word,” n.d