คำตอบคือ ไม่

ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าการระบุว่ากะเทย สาวประเภทสอง และคนข้ามเพศเป็นความผิดปกติทางจิต หรืออาการเจ็บป่วยมาจากความเข้าใจผิดและการจัดหมวดหมู่ที่ไม่ถูกต้องมาตั้งแต่สมัยก่อน

สังคมเชื่อว่านานมาแล้วผู้คนที่มีความแตกต่างจะป่วยหรือไม่ปกติ นักสิทธิมนุษยชนสมัยรุ่นใหม่ได้ต่อสู้เพื่อแก้ไขความเชื่อผิดๆ เหล่านี้ เช่น ในปี 1973 การรักเพศเดียวกันว่าเป็นความเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ถูกกำจัดออกจากคู่มือ DSM* (รายชื่อโรคทางจิต) อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่ว่าทรานส์เป็นโรคทางจิตนั้นถูกฝังรากทางความคิดมาอย่างยาวนาน เนื่องจากทรานส์จำนวนมากต้องการการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในการยืนยันเรื่องเพศ ซึ่งในอดีตต้องอาศัยการวินิจฉัยสภาพจิตใจหรือความผิดปกติ

ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่แพทย์จัดหมวดหมู่ผิด แต่ยังเป็นเพราะสถิติแสดงให้เห็นว่า ทรานส์บุคคลเพศอื่นประสบปัญหาและอาการทางสุขภาพจิตอื่นๆ ในอัตราที่สูงกว่า รวมถึงภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และการฆ่าตัวตาย ซึ่งเราจะพูดถึงเพิ่มเติมด้านล่างนี้

การอัปเดตล่าสุดของ ICD*(11) องค์การอนามัยโลกปรับแก้บัญชีจำแนกโรคสากล ICD-11 ฉบับใหม่ โดยถอดถอนภาวะการข้ามเพศ ออกจากหมวดความบกพร่องทางจิตและพฤติกรรม (รอการรับรองจากสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly)) และได้บรรจุภาวะการข้ามเพศ ในหมวดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศ (Sexual health) ซึ่งจะบรรจุอยู่ในบทที่ 17 ของบัญชีจำแนกโรคสากล ICD-11 ฉบับใหม่นี้ โดยจะมีการใช้คำใหม่ในการจำแนกภาวะการข้ามเพศกับกลุ่มประชากรสองกลุ่มคือ เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ (Gender Incongruence of Adolescence and Adulthood) และเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดในวัยเด็ก (Gender Incongruence of Childhood) อย่างไรก็ตามบัญชีจำแนกโรคสากลนี้ผ่านการพิจารณาจากสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 และคาดว่าจะเริ่มใช้ทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 สะท้อนให้เห็นว่าสำหรับทรานส์ที่ต้องการยืนยันทางการแพทย์ในเพศของพวกเขา ส่งผลถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเขา ไม่ใช่เพื่อแก้ไขความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยทางจิตแต่อย่างใด

แนวทางในการศึกษา วิจัยและการปฏิบัติในอนาคต เราหวังว่าจะถึงเวลาที่ทรานส์ได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงการดูแลและการยืนยันโดยไม่จำเป็นต้องขอการวินิจฉัย แต่เพียงเพราะพวกเขาต้องการหรือจำเป็นต้องยืนยันเพศของตน

ตัวย่อแต่ละอย่างคืออะไรบ้าง?

  • DSM – The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders.  คู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต
  • ICD - The International Classification of Disease. บัญชีจําแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องฉบับที่ 11

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเพศหลากหลายด้านอื่นๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ การวินิจฉัยเพศ

เหตุใดทรานส์จึงประสบปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น?

จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าทรานส์มีจำนวนไม่สมส่วน เมื่อเทียบกับจำนวนปัญหาสุขภาพจิตของประชากรทั่วไป รวมถึงอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น (มีแนวโน้มมากกว่า 12 เท่า) การวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิต (มีแนวโน้มมากกว่า 3 เท่า) และกำลังประสบการณ์ปัญหาทางจิต

เรายังพบว่าไม่ใช่เพราะปัญหาเหล่านี้มีมาแต่เริ่มต้นในการเป็นทรานส์ แต่เป็นเพราะสิ่งที่เราเรียกว่าปัจจัยสุขภาพทางสังคม ซึ่งใช้เงื่อนไขที่ผู้คนใช้ชีวิตอยู่เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ด้านสุขภาพของตนเอง และอื่นๆ ความทุกข์ทรมานและความบกพร่องซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบกับความผิดปกติทางจิตในหมู่ทรานส์ส่วนใหญ่เกิดจากการูชถูกเลือกปฏิบัติ การตีตรา การขาดการยอมรับ และการล่วงละเมิดที่พวกเขาเผชิญอยู่เป็นประจำอย่างที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึง:

  • การถูกเลือกปฏิบัติ เช่น การปฏิเสธการให้บริการ ในสถานที่ทำงาน
  • ไม่ได้รับการปฏิบัติแบบเดียวกันหรือไม่ได้รับโอกาสเช่นเดียวกับคนตรงเพศ
  • การใช้ภาษาในทางที่ผิด
  • อ้างว่าเพศของคุณเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตหรือร่างกาย
  • เหมารวมในเรื่องของอัตลักษณ์ของคนข้ามเพศไปกับกลุ่มอื่นๆ เช่น เชื้อชาติ ชนชั้น เพศ
  • สาเหตุอื่น ๆ

ทรานส์จำนวนมากยังประสบปัญหาความทุกข์ใจในเพศสภาพที่ตนเลือก ซึ่งไม่ใช่ภาวะสุขภาพจิตด้วยตัวเอง แต่ด้วยเหตุและปัจจัยโดยรวมดังที่กล่าวมา ส่งผลทำให้อาจจะได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่รุนแรงในอนาคตได้

การยืนยันเพศจะช่วยแก้ไขความเจ็บป่วยทางจิตของทรานส์ได้หรือไม่?

หากคุณป่วยเป็นโรคทางจิต การยืนยันเรื่องเพศอาจช่วยได้ แต่หลายๆ คนพบว่าการยืนยันเรื่องเพศและการมีการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไปพร้อมๆ กันนั้นมีประโยชน์มากกว่า บางคนพบว่าการยืนยันเพศของตน ไม่ว่าวิธีใดก็ตามที่เหมาะกับพวกเขา ช่วยบรรเทาความทุกข์ทางจิตใจและร่างกายได้มากจริงๆ แต่คนอื่นๆ อาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม การต้องการความช่วยเหลือหรือการรักษาสำหรับปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องผิด และคนทุกเพศก็ทำเช่นนั้นเพื่อให้รู้สึกมีสุขภาพที่ดีและมีความสุขมากขึ้น

ท้ายที่สุด การยืนยันเรื่องเพศไม่ได้เป็นทางออกเดียวในการแก้ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณอาจกำลังเผชิญอยู่ การยืนยันเพศอาจช่วยได้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับหลายๆ คน แต่สิ่งที่สำคัญคือ การมีสุขภาวะของคนข้ามเพศที่ดี สุขภาพจิตและสุขภาพกายที่เกี่ยวข้องกับการข้ามเพศเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับคนข้ามเพศ การพัฒนาบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศ และลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในประเทศไทย ดังนั้นควรมีการสนับสนุนบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศที่เข้าถึงได้ง่าย มีคุณภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ และครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย
 

 

อ้างอิง: 

เสวนา จากโรคจิตวิกลจริตสู่เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด : เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย
COUNTRIES SUPPORTING GENDER AFFIRMATION RELATED PROCEDURES FOR THE TRANSGENDER COMMUNITY MEMBERS : Alliance India