สำหรับภาษาไทยเรานั้น สรรพนามที่เราเรียกกันก็เช่น ฉัน เธอ เขา เรา ดิฉัน คุณ รวมถึงศัพท์ขั้นแอดวานซ์หรือศัพท์กะเทย เช่น แม่ (ลากเสียงยาวๆ) ขุ่นแม่ขา มัม ซิส ฯลฯ แต่สรรพนามในระดับสากลสำคัญมากกว่านั้น!! เพราะเมื่อเราสื่อสารกับชาวต่างชาติ สรรพนาม (Pronoun) มักจะสัมพันธ์กับความสะดวกใจของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) ที่แต่ละบุคคลจะมีการนิยามเพศสภาพ (Gender) อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identifies) หรือการแสดงออกทางเพศ Gender Expression) ที่แตกต่างกันออกไป

และถ้าถามว่ามันท้าทายอย่างไร ก็ตอบได้อย่างง่ายดายว่า บ้านเราเวลาจะเรียกใครแบบบุรุษที่ 3 เราจะเรียกแค่ชื่อ เช่น น้องคนนี้ชีทำอย่างนั้น ฯลฯ แต่ “ตามหลักสากล” เราต้องอย่าลืมดูว่าแต่ละคนสะดวกใจ ที่จะให้เรียกสรรพนามแทนบุรุษที่ 3 อย่างไร หลักๆ ของสรรพนามจะประกอบด้วย She/her, He/him, They,them หรือบางคนอาจจะสะดวก She/they หรือ He/they ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาสะดวกใจที่จะถูกเรียกแบบไหน เพราะถ้าสมมติเราเป็นสาวข้ามเพศ แต่เรากลับถูกเพื่อนเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า He/him!! เป็นคุณ คุณจะตกใจไหมล่ะ ปรากฏการณ์นี้เขาเรียกว่า Misgender (การใช้คำสรรพนามหรือคำบ่งชี้เพศสภาพแบบผิดๆ เมื่อกล่าวถึงหรือพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะ)

เสริมอีกสักเล็กน้อยเพื่อให้เห็นภาพ บางคนไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองมีความเป็นชายหรือความเป็นหญิงเลย เขารู้สึกว่าตัวเองออกจากกล่องเพศชาย-หญิงไปแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งคือผู้ที่ปฏิเสธความเป็นชาย-หญิงในตัว ส่วนใหญ่เขาจะชอบให้เรียกสรรพนามว่า They/them หรือไม่ก็ไม่ต้องเรียกสรรพนาม ให้เรียกชื่อไปเลย เพื่อเราจะได้ไม่ Misgender มีคงซึ่งไว้ในตัวตนอัตลักษณ์ทางเพศของเขา ทั้งนี้ ทุกสิ่งอย่างอยู่ที่ความชอบให้เรียกหรือความสะดวกใจเลย ไม่ต้องกังวล เพราะนี่คือหลักสากลที่เราควรต้องรับรู้และทำความเข้าใจไว้ และสาวข้ามเพศทุกคนถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะใช้สรรพนาม She/her กัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนนะ ลองเปิดใจทำความเข้าใจดูแล้วจะรู้ว่าไม่ยากอย่างที่คิด