ก่อนจะมีการเรียกร้องสิทธิ์ใดๆ ทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้นก่อน การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนข้ามเพศเช่นเดียวกัน จากอารยธรรมโบราณที่เขียนมามากต่อมาก ที่แสดงถึงว่าพวกเรามีตัวตนอยู่ในสังคม จนผนวกกับเหตุการณ์สำคัญที่เป็นคนรู้จักกับคำว่า LGBTQIANs+, Gay rights หรือ Trans rights เกิดขึ้น ขบวนการสิทธิคนข้ามเพศเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 นักเคลื่อนไหวข้ามเพศเริ่มผลักดันให้สังคมยอมรับในวงกว้าง
เริ่มแรกการเคลื่อนไหวของคนข้ามเพศ
ในช่วงเวลาแรกเริ่มแห่งขบวนการเคลื่อนไหวนั้น กลุ่มคนข้ามเพศบางกลุ่มมีบทบาทสำคัญ ในการเรียกร้องสิทธิพลเมืองอย่างชนเท่ากัน ในพื้นที่สังคมชาวอเมริกัน โดย LGBTQIANs+ ในปี 1959 คนข้ามเพศ แดร็กควีน และคนอื่นๆ ต่อสู้กับตำรวจลอสแอนเจลิส ที่มุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงข้ามเพศในการจับกุมแบบสุ่มที่ Cooper Do-nuts ร้านกาแฟยอดนิยมของชุมชน LGBTQIANs+ เหตุการณ์ดังกล่าวเรียกว่าเป็นการจลาจล การต่อสู้ของโดยกลุ่ม LGBTQIANs+ มีอาวุธในมือเพียงแค่ขว้างโดนัทและสิ่งของอื่นๆใส่ตำรวจเพื่อหยุดยั้งการถูกคุกคาม
ความพยายามในการเรียกร้องสิทธิช่วงแรก รวมถึงการลุกฮือของแดร็กควีนในซานฟรานซิสโกที่ Compton's Cafeteria ในปี 1966 และการก่อตั้ง Transvestia นิตยสารที่ให้บริการชุมชนคนข้ามเพศและชุมชนคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ ความชอบ บุคลิก การแสดงออก ความรู้สึกดึงดูดทางเพศ แตกต่างไปจากความเป็นชายหรือหญิง ในบริบทของสังคม นั้นๆ หรือเรียกสั้นๆว่า Gender Nonconforming
ในส่วนของคนข้ามเพศในตำนานแห่งวงการนักต่อสู้ เช่น Marsha P. Johnson และ Sylvia Rivera ได้เข้าร่วมในการจลาจลที่ Stonewall ซึ่งเป็นการจลาจลที่แสดงถึงความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันอย่างยิ่งใหญ่ ในปี 1969 เหตุการณ์ Stonewall ไม่เพียงแค่สร้างความเสียหายให้กลุ่ม LGBTQIANs+ แต่ยังจุดชนวนให้เกิดขบวนการความภาคภูมิใจ (ขบวน Pride) ของ LGBTQIANs+ ในวงกว้างขึ้น
อย่างไรก็ตาม คนข้ามเพศยังคงต่อสู้กับอคติทางสังคมในหลายๆ ด้าน โดยท้าทายกฎหมายที่ห้ามไม่ให้พวกเราแต่งงาน ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ และคุกคามสิทธิ์ในการใช้ชีวิตอย่างเปิดเผยในสังคม แม้จะต้องเผชิญกับความรุนแรง โดยรวมตัวในนามของการปลดปล่อยกลุ่มคนข้ามเพศ (Trans liberation) "มองที่พวกเรา เรากำลังต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เรากำลังดิ้นรนเพื่อให้คนอื่นได้ยิน, Leslie Feinberg นักเขียนข้ามเพศเขียนในปี 1992”
ในปี 1999 Monica Helms นักเคลื่อนไหวข้ามเพศได้ออกแบบสัญลักษณ์ที่จะกำหนดการเคลื่อนไหว ซึ่งก็คือ ธงความภาคภูมิใจของคนข้ามเพศ การใช้แถบสีฟ้าและสีชมพู ซึ่งเป็นสีที่มีความเชื่อมโยงกับการกำหนดเพศอย่างลึกซึ้ง ธงดังกล่าวยังมีแถบสีขาวเพื่อแสดงถึงบุคคลที่เป็นบุคคลที่มีเพศเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด และอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง ในปัจจุบัน แม้ว่าขบวนการความภาคภูมิใจของบุคคลข้ามเพศจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และความตระหนักรู้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เกี่ยวกับคนข้ามเพศในสหรัฐอเมริกา แต่การที่คนข้ามเพศและคนที่มีความหลากหลายทางเพศยังคงถูกกีดกันอยู่ชายขอบ
ในปี 2021 เพียงปีเดียวเท่านั้น โครงการรณรงค์สิทธิมนุษยชนคาดการณ์ว่า คนข้ามเพศและคนที่มีความหลากหลายทางเพศ 50 คนถูกสังหาร คนข้ามเพศจำนวนมากถึง 82 เปอร์เซ็นต์รายงานว่า เคยคิดฆ่าตัวตาย และเยาวชนข้ามเพศ 56 เปอร์เซ็นต์ที่สำรวจในการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2022 ระบุว่าพวกเขาเคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน ศูนย์แห่งชาติเพื่อความเท่าเทียมระหว่างเพศรายงานว่า มากกว่าหนึ่งในสี่ ของคนข้ามเพศเคยถูกทำร้ายร่างกายโดยมีอคติ อัตราเหล่านั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีกสำหรับผู้หญิงข้ามเพศและคนผิวสี
ในประเทศไทยถึงแม้พวกเราจะมี พรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 แล้วแต่พวกเรายังต้องต่อสู้เรื่องสมรสเท่าเทียม การรับรองเพศสภาพ รวมถึงสร้างความเข้าใจเรื่อง LGBTQIANs+ กันต่อไปในรัฐบาลปัจจุบัน และภาพอนาคตที่เราจะต้องเป็นสวรรค์แห่ง LGBTQIANs+ จริงๆ ไม่ใช่สวรรค์ที่มีแต่ความเริงร่า แต่ถูกซุกใต้พนมไว้ด้วยด้วยอคติทางเพศที่ครอบคลุมอยู่มากมาย
อ้างอิงจาก: How historians are documenting the lives of transgender people by National Geographic