สิทธิมนุษยชนและสิทธิทางเพศ
ปัจจุบันสาวข้ามเพศที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำยังต้องอยู่ในเรือนจำแดนชาย และไม่มีการให้ฮอร์โมนเพศหญิงเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเขา ยังถูกตีตราเลือกปฏิบัติจากบุคคลในเรือนจำ ยกตัวอย่างเคสของ นารา เครปกะเทย นี่เป็นคำเปิดใจแรกของนารา ที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อออนไลน์ The Momentum ในวันนัดสืบพยานคดีอาญา ม.112 สืบเนื่องจากวีดีโอโฆษณาลาซาด้า 5.5 ของนาราที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีเนื้อหาล้อเลียนผู้พิการ และหมิ่นสถาบัน เมื่อปี 2565
นาราเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ที่ถูกขังในแดนชาย ทำให้เธอถูกปฏิบัติเหมือนกับนักโทษชายคนอื่น ๆ ที่อยู่ในเรือนจำ และแม้ว่าเธอจะแปลงหน้าอกแล้วแต่เธอก็ไม่สามารถสวมชุดชั้นใน เกาะอก หรือปิดจุกหน้าอกได้ ด้วยทางเรือนจำไม่มีให้ ทำให้เธอถูกลวนลามทางเพศในขณะคุมขัง
และการปฏิบัติกับหญิงข้ามเพศที่สุดจะรับได้ คือการตัดผมทรงเกรียนขาวทั้ง 3 ด้าน จากคำสั่งของเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ นาราเล่ากับ สื่อออนไลน์ The Momentum ว่า คนที่อยู่ในเรือนจำจะถูกตัดผมทุกคน แต่หากเป็นหญิงข้ามเพศจะถูกจับจ้องเป็นพิเศษ และมักถูกกระทำที่รุนแรงกว่า เช่น หากถูกตัดผมก็จะถูกตัดเกรียนมากกว่านักโทษชายในเรือนจำคนอื่น ๆ
“เจ้าหน้าที่เดินมาบอกเราว่า สะใจที่กะเทยโดนตัดผม และเรียกเรากลับมาตัดผมอีกรอบ จากนั้นก็ไถผมจนเกรียน โดนไถจนหัวขาว ตอนนี้ยาวมาบ้างแล้วค่ะ สาวประเภทสองก็จะโดนแบบนี้ทุกคน”
การปฏิบัติที่เหี้ยมโหดกับผู้มีความหลากหลายทางเพศยังคงมีอยู่ เห็นได้ชัดจากกรณีของ 'นารา เครปกะเทย' ที่ ณ เวลานี้เธอถูกแปลสภาพอย่างไม่ใยความรู้สึกและเหลียวแลความเป็นมนุษย์ แม้เราจะอยู่ในยุคที่โซเชียลเข้าถึงกันแม้จะอยู่ในเรือนจำ แต่นั่นก็ไม่ได้บรรเทาความรุนแรงจากการกลั่นแกล้งทางเพศลงแม้แต่น้อย
ซึ่งจากกรณีของนารา และกรณีอื่นๆ ทำให้มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมกับ มูลนิธิเดื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ (FOR-SOGI) และภาคีเครือข่ายจัดทำจดหมายเปิดผนึก “เรียกร้องให้กรมราชทัณฑ์ให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” เพื่อให้คนข้ามเพศได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางเพศเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา
อ้างอิงจาก:
พาฝัน หน่อแก้ว The momentum และข้อมูลเพิ่มเติมจาก Young Pride Club