การสนทนาที่อาจสื่อความหมายถึงการตีตรา

ผู้ให้บริการพึงมีท่าทีในการใช้คำพูด และคำถามในการสนทนาเพื่อสื่อสาร กับผู้รับบริการที่เป็นคนข้ามเพศที่สุภาพและเป็นมิตร หลีกเลี่ยงท่าทีหรือการใช้คำพูดหรือประโยคที่อาจสื่อความหมายถึงการตีตรา เหมารวมและไม่เคารพในตัวบุคคล ดังตัวอย่างต่อไปนี้

คำนำหน้านามสำหรับผู้รับบริการที่เป็นคนข้ามเพศ 

เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำ นำ หน้านามที่อาจไม่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของผู้รับบริการ เบื้องต้นควรใช้คำนำหน้านามว่า “คุณ” แทนการใช้คำ ว่า “นาย” หรือ “นาง” หรือ “นางสาว” ในการสื่อสารกับผู้รับบริการหากไม่แน่ใจควรถามผู้มารับบริการด้วยความสุภาพว่าประสงค์จะให้ใช้คำสรรพนามใด

ผู้ให้บริการควรมีท่าทีที่สุภาพและเป็นมิตร 

ไม่ควรซุบซิบ แสดงท่าทีรังเกียจ แสดงท่าทีขบขัน

หลีกเลี่ยงการใช้คำ

หลีกเลี่ยงการใช้คำเรียกผู้รับบริการที่เป็นคนข้ามเพศว่า “ตัวเอง” “คนสวย”หรือคำอื่น ๆ ที่สื่อความหมายไปในทางตีตราหรือไม่เคารพในตัวบุคคล

หลีกเลี่ยงบทสนทนาที่ไม่เกี่ยวข้อง

หลีกเลี่ยงบทสนทนาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมารับบริการของผู้รับบริการในวันนั้น เช่น “สวยเหมือนผู้หญิงเลยค่ะ” “ดูไม่ออกเลยนะคะ” “รู้ตัวว่าเป็นมาตั้งแต่เมื่อไหร่” เนื่องจากเป็นประโยคหรือบทสนทนาที่อาจมีความหมายในทางการตีตรา ซึ่งอาจทำ ให้ผู้รับบริการรู้สึกอึดอัดใจ

ไม่ควรถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้อง 

ไม่ควรถามคำ ถามหรือประวัติการทำ ศัลยกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมารับบริการในครั้งนั้น เช่น “สวยจังเลย ผ่าหรือยังคะ” “ทำ หน้าอกที่หมอไหนคะ ราคาเท่าไหร่” หากจำ เป็นต้องถามหรือซักประวัติให้ขออนุญาตก่อนอย่างสุภาพ

ไม่ควรตัดสิน

ไม่ควรตัดสินผู้รับบริการด้วยเหตุแห่งอาชีพ เชื้อชาติศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ทางเพศหรือรสนิยมทางเพศ ควรปฏิบัติต่อผู้รับบริการทุกคนด้วยความเท่าเทียมกัน

ไม่เหมารวมรสนิยมทางเพศ

ไม่เหมารวมรสนิยมทางเพศของผู้รับบริการ เช่น ผู้รับบริการที่เป็นหญิงข้ามเพศ อาจมีคู่ที่เป็นหญิงข้ามเพศเหมือนกัน การแสดงทีท่าแปลกใจ ตั้งคำถาม หรือตัดสิน อาจทำ ให้ผู้รับบริการรู้สึกอึดอัดใจ

 

ที่มา: การให้บริการทางสุขภาพแก่คนข้ามเพศ (Healthcare Services for Transgender People) : คู่มือการให้บริการสุขภาพคนข้ามเพศประเทศไทย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพคนข้ามเพศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (IHRI)