Sisterhood

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของชุมชน LGBTQIA+ หลังมีประกาศว่าสมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว คู่รักทุกคู่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้โดยไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเป็นเงื่อนไข ทำให้ LGBTQIA+ หลายคนต่างรู้สึกยินดีและดีใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ในส่วนของบางคนในสังคมก็มีความคิดว่าการมีสมรสเท่าเทียมแปลว่าประเทศไทยมีความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริง ซึ่งสวนทางกับความคิดของ LGBTQIA+ ที่คิดว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่ต้องแก้ไข

นอกจากนี้มีบางส่วนที่ไม่ได้ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วย โดยส่วนหนึ่งของความคิดเห็นเช่น “LGBTQIA+ เรียกร้องมากเกินไปไหม จะเอาทุกอย่างเลยหรือไง แค่นี้ประเทศก็เปิดกว้างมากพอแล้ว” หรือ “เอาเวลาไปผลักดันกฎหมายอื่นดีกว่าไหม อันนี้อะไรไร้สาระ” 

จึงเป็นคำถามต่อมาว่าการที่คน ๆ หนึ่งจะเรียกร้องสิทธิเพื่อตัวเองนั้น “เกินไป” หรือเป็นเรื่อง “ไร้สาระ” จริงไหม และการมีสมรสเท่าเทียมแปลว่าประเทศไทยมีความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริงหรือเปล่า

วันนี้ Sanook จึงชวนดร.พอลลี่ (ณฑญา เป้ามีพันธ์) และเดน่า (เดน่า ฮารัม) มาพูดคุยถึงความรู้สึกหลังสมรสเท่าเทียมผ่าน พร้อมทั้งเผยมุมมองเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทยและต่างประเทศว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงประเด็นอื่น ๆ ที่อยากผลักดันเพิ่มเติม

การเป็น LGBTQIA+ ในสังคมไทย

Sanook ได้ถามดร.พอลลี่ เกี่ยวกับประสบการณ์การเป็น LGBTQIA+ ในสังคมไทยว่ามีคำพูดไหนหรือเหตุการณ์ใดที่ทำให้ดร.พอลลี่ จำได้ขึ้นใจบ้าง