
Trans Pride Thailand On Screens : ชวนดู #ShortFilm ฉายสารคดีสั้นและหนังสั้น
ขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมชมหนังสารคดีและหนังสั้น พร้อมฟังการเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทาง การยกระดับผลงานสื่อสร้างสรรค์ของ #คนข้ามเพศ และกลุ่มคนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่งาน Trans Pride Thailand 2024 On Screen ภายใต้แนวคิด Self-Determation For The Future อนาคตกำหนดได้ด้วยตัวเอง ในวันพุธที่ 19 มิถุยายน 2567 เวลา 17:30-21:00 น. ณ โรงภาพยนตร์ Embassy Diplomat Screens ชั้น 6 Central Embassy
ร่วมชมหนังสั้นและหนังสารคดี ผลงานสื่อสร้างสรรค์เพื่อการตระหนักรู้ เข้าถึง และเข้าใจการมีอยู่ของคนข้ามเพศ และกลุ่มคนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมากยิ่งขึ้น ผ่านเรื่องราวหลากหลายแง่มุมที่เกี่ยวของกับวิถีชีวิตและสิทธิมนุษยชน พร้อมกับบรรยากาศแบบส่วนตัว และ Exclusive Lounge ของโรงภาพยนต์ระดับ 6 ดาว Embassy Diplomat Screens ที่จะมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่า ทั้งการบริการ คุณภาพจอ และระบบเสียงที่คมชัด เก้าอี้ก็นั่งสบาย ทุกคนสามารถเพลิดเพลินและดื่มด่ำกับกิจกรรมกันได้ยาวๆ ตลอดจนจบงาน
กิจกรรมภายในงาน
- #Performance การแสดงเปิดงานจาก Drag Race Thai Fans โดย GAWDLAND
- #Forum เสวนาพูดคุย “คนข้ามเพศบนสื่อ จะทำอย่างไรไม่ให้ตีตราและสร้างสรรค์”
ผู้ร่วมเสวนา
- ราตรี จุลคีรี ผู้อํานวยการส่วนสํานักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สํานักงาน กสทช.
- อาทิตยา อาษา ผู้ประสานงาน เครือข่ายทอม ผู้ชายข้ามเพศ นอนไบนารีเพื่อความเท่าเทียม
- อ.ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจําภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รุ่งโรจน์ สมบุญเก่า The Active Thai PBS
ดำเนินการเสวนา
- ธีน่า Drag Race Thai Fan และผู้ก่อตั้ง Prism Galaxia
- ฟาโรห์ ธำรงค์ พิธีกร, นักแสดงจากซีรีส์วาย และจากละครเรื่อง มาตาลดา
#ShortFilm กิจกรรมฉายหนังสั้นและหนังสารคดี
- สารคดี ข้าม | เพศ กำกับโดย ศุภฤกษ์ นิงสานนท์ และเพจ ข้ามเพศมีสุข เมื่อบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นกับคนข้ามเพศ ควรได้รับสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการข้ามเพศ ซึ่งทำได้จริงในต่างประเทศ และประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำได้ โดยเริ่มจากการมองคนข้ามเพศเป็นพลเมืองของรัฐ ที่มีความต้องการบริการสุขภาพที่ส่งเสริมสุขภาวะของพวกเขา
- สารคดี ฝ้ายริมโรง (Mekong Cotton) ภาพยนตร์สารคดีโดย นันทชัย ภู่โพธิ์เกตุ เมื่อชาวบ้านริมโขงปลูกฝ้ายได้น้อยลง เพราะระดับน้ำในแม่น้ำโขง ขึ้นลงไม่เป็นปกติจากการควบคุมของเขื่อนต้นแม่น้ำ ผ้าฝ้ายธรรมชาติซึ่งเป็นทั้งความภาคภูมิใจ และอาชีพของกะเทยริมโขงจึงเสี่ยงจะสูญหาย
- หนังสั้น นภัส (NAPAT) กำกับโดย กอล์ฟ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ นภัสอยู่ในวัยที่กำลังค้นหาตัวตน ความต้องการ และค้นหาว่า “เธอคือใครบนโลกใบนี้“ โลกที่ออกแบบมาให้กับมนุษย์เพียงแค่สองเพศ คือ เพศชาย และหญิง ทำให้คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ และการแสดงออกทางเพศสภาพที่แตกต่าง ต้องเผชิญปัญหาจากโลกที่ออกแบบมาอย่างคับแคบ มาค้นหาตัวตนร่วมกับนภัสในหนังสั้นที่มีความยาวเพียง 8 นาทีไปด้วยกัน ผลงานนี้ผลิตโดยโครงการ Building Public Awareness of Gender Recognition Law for Trans ดำเนินงานโดยมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA) สนับสนุนโดย International Trans Fund (ITF)
- หนัง Behind The Queens By GAWDLAND หลังม่านนางโชว์... เรื่องราวของศิลปินแดร็กรุ่นใหม่ทั้ง 4 ควีน ของวงการแดร็กในไทย ประกอบไปด้วย Barry Cloudy, Leo Pattra, Jessica Hush และ Jessie Aueng ผลงานชิ้นนี้เป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตของ Young Queer Artists ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มคนชายขอบสังคมทั้งในแง่ตัวตนศิลปินและศิลปะที่ทํางานชิ้นนี้ชว่ยส่งเสริมสิทธิ์ความเท่าเทียมทางเพศตามระบอบประชาธิปไตยและสร้าง ความเข้าใจในประเด็นเพศวิถี รวมทั้งยังมอบพื้นที่ให้แก่คนในชุมชนศิลปินแดร็กได้ออกมาแสดงตัวตนและบอกเล่าเรื่องราวอย่างภาคภูมิใจ สารคดีชุดนี้เป็นการพาคนดูทุกคนย้อนกลับไปสํารวจ อดีตในแง่มุม หลังม่านตัวตนของศิลปิน ที่มามอบความบันเทิงให้ผู้ชมหน้าม่าน ว่ามีเหตุปัจจัยหรือบุคคลใดกระทั่งสิ่งที่ประกอบสร้าง ให้พวกเขาเป็นพวกเขาได้อย่างทุกวันนี้
- สารคดีทรานส์วัยเก๋า: ห้ามป่วย ห้ามเหงา ห้ามเฒ่าลำพัง กำกับโดย ปริญญา จรัสเพ็ชร และเพจ ข้ามเพศมีสุข ทรานซ์วัยเก๋า นำเสนอเรื่องราวพี่น้องทอมและกะเทยที่เกิด เติบโต และเกษียณอายุในจังหวัดสุรินทร์ ท่ามกลางทรัพยากร และบริการสุขภาพที่กระจุกตัวในเมืองหลวง การเข้าถึงบริการทางสังคมที่ไม่ง่าย พี่น้องคนข้ามเพศสูงอายุคู่นี้จะทำให้ผู้ชมเรียนรู้ผ่านชีวิตของคนทั้งคู่ เพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทิ้งคนสูงอายุไว้ข้างหลัง สารคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมสุขภาวะ และลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนข้ามเพศในประเทศไทย (Trans Health Access Thailand : T-HAT) โดยการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และทำงานร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (The Foundation of Transgender Alliance for Human Rights : TGA) และภาคีเครือข่ายคนทำงานด้านสุขภาพกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ
#ฟรี! ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน https://forms.gle/xxCGYdFGxnbT5pna8
*จำกัดผู้เข้าร่วมงาน สำหรับที่ผู้ลงทะเบียน เพียง 50 ที่นั่ง เท่านั้น!