Sisterhood

“SEXTING” – นิทรรศการเดี่ยว โดย เอดด้า พันเลิศ ศรีพรหม

“SEXTING” – นิทรรศการเดี่ยว โดย เอดด้า พันเลิศ ศรีพรหม

สร้างสรรค์ผ่านกรรมวิธีการปักถ้อยคำและสัญลักษณ์ลงบนจีวรพระสงฆ์ ชิ้นงานเหล่านี้นำพาโลกธรรมะและโลกแฟชั่นเข้ามาบรรจบกัน อีกทั้งยังชี้ชวนผู้ชมให้ครุ่นคิดถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา อาทิ กฏเกณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยเพศสภาพ, พุทธพาณิชย์,  สมดุลระหว่างความศักดิ์สิทธิ์และความจับต้องได้ ฯลฯ จากชุดผลงานทั้งหมดของเธอ ผลงานชุด SEXTING ถือว่าเป็นชุดที่แสดงให้เห็นความสนใจของศิลปิน ทางด้านสิ่งทอและพุทธศาสนาได้ดีเยี่ยม อีกทั้งนิทรรศการนี้ยังถือเป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเอด้าในเมืองไทยอีกด้วย

เอด้ามีพื้นเพการทำงานในบริษัทแฟชั่นระดับโลกก่อนที่ผันตัวออกมาเป็นศิลปินอิสระ และก่อตั้ง Eda Editions เพื่อเป็นพื้นที่ในการสื่อสารความคิดและโปรเจคต่างๆของเธอที่กรุงเบอลิน ผลงานของเอด้าตั้งคำถามกับสัญญะของสิ่งทอและเครื่องแต่งกายที่กำหนดกฏเกณฑ์หรือบทบาทในผู้คนในสังคม อาทิ ชุดภาพถ่ายกึ่งสารคดี JESUISEDA (2018) ที่เธอได้ร่วมงานกับช่างภาพ JohnTods ตั้งคำถามกับสภาวะที่แปรเปลี่ยนเมื่อสวมใส่จีวร และการสงวนไว้สำหรับบุรุษเพศเท่านั้น 

เอด้ามีพื้นเพการทำงานในบริษัทแฟชั่นระดับโลกก่อนที่ผันตัวออกมาเป็นศิลปินอิสระ และก่อตั้ง Eda Editions เพื่อเป็นพื้นที่ในการสื่อสารความคิดและโปรเจคต่างๆของเธอที่กรุงเบอลิน ผลงานของเอด้าตั้งคำถามกับสัญญะของสิ่งทอและเครื่องแต่งกายที่กำหนดกฏเกณฑ์หรือบทบาทในผู้คนในสังคม อาทิ ชุดภาพถ่ายกึ่งสารคดี JESUISEDA (2018) ที่เธอได้ร่วมงานกับช่างภาพ JohnTods ตั้งคำถามกับสภาวะที่แปรเปลี่ยนเมื่อสวมใส่จีวร และการสงวนไว้สำหรับบุรุษเพศเท่านั้น 

ในชุดภาพนี้เธอนำเสนอวิธีคิดให้ชำระล้างกรอบเกณฑ์ทางอัตลักษณ์ออกในยามเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์ผ่านผ้าเช็ดหน้าสีขาวซึ่งสื่อนัยยะถึงการเช็ดชำระ ที่ถูกถักทอจนขึ้นรูปคล้ายสบงและจีวรพระ เป็นต้น หรือในอีกผลงานที่เธอสร้างขึ้นสำหรับ Museum der Kulturen Basel ที่ประเทศสวิซแลนด์ เอด้าได้ไปตระเวนขอบริจาคผ้าจีวรเหลือใช้จากวัดต่างๆในยุโรป เพื่อนำมาสร้างเป็นประติมากรรม Happy Buddha ขนาดยักษ์ ได้รับแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปปางสมาธิ และนำมาจัดวางไว้ในบริเวณพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ผู้คนสามารถ “เข้าถึง” พระพุทธได้อย่างสะดวกสบาย 

นอกจากนี้เธอยังสร้าง Happy Buddha ขนาดเล็กด้วยวัสดุเดียวกัน เพื่อกระจายไอเดียของการเข้าถึงไปสู่คนหมู่มากต่อไปอีกด้วย กล่าวได้ว่า ในขณะที่นิยามความเป็นกะเทยตีตราห้ามไม่ให้เธอบวชใต้ร่มกาสาวพัสตร์ งานศิลปะของเธอจึงเป็นเสมือนช่องทางการเข้าถึงพุทธศาสนาที่เธอเคารพรักในแบบของเธอเอง 

ผลงานที่ผ่านมา

2023 Love is in the HERMES Installation at Rautenstrauch-Joest Museum, Cologne, Germany 
2022 Happy Buddha Installation at Museum der Kulturen, Basel, Switzerland 
2022 Crossing the Lines Group Exhibition at Sac Gallery, Bangkok, Thailand 
2020 A Room Full of Women Group Exhibition at ATT19, Bangkok, Thailand 
2019 Photographic Exploration Project Group Exhibition at Tete, Berlin, Germany 
2018 Fashion Collection Finalist ITS International Talent Support, Triest, Italy

เกี่ยวกับแกลเลอรี่

โพธิสัตวา LGBTQ+ แกลเลอรี่ ก่อตั้งขึ้นในปี 2020 เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดง
ผลงานศิลปิน LGBTQ+ จากประเทศเอเชียอะเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ ชื่อและสัญลักษณ์ประจำแกลเลอรี่นั่นมีที่มาจาก “พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์” เทพในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ผู้เป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาและไร้ซึ่งเพศสภาพ 

นอกจากนี้แกลเลอรี่ยังทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ อาทิ สถาบันการศึกษา, มูลนิธี, กลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิทธิของเพศสภาพที่หลากหลาย โดยมีความตั้งใจเผยแพร่ศิลปะและเรื่องราวของชาว LGBTQ+ ไปในวงกว้างให้ได้มากที่สุด
 

 

รายละเอียดกิจกรรม

Calendar 18 กุมภาพันธ์ 2567 | 09:55 น.
Map 5 ถนนสรงประภา 18 กรุงเทพมหานคร 10210
Contact -