142 ซ.ชมจันทร์ ถ.เชียงใหม่-ฮอด ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่
มูลนิธิเอ็มพลัส ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2546 ภายใต้ชื่อ “โครงการเพื่อชายรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ” ได้รับทุนสนับสนุนจาก องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) จดทะเบียนมูลนิธิเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ปัจจุบันเอ็มพลัสเป็นองค์กรระดับประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดบริการด้านการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยใช้นวัตกรรมเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรหลักในพื้นที่ ประกอบด้วย
เน้นการทำงานเพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการเสียชีวิตจากเอดส์ และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติจากเอชไอวี/เอดส์และความต่างจากเหตุแห่งเพศ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการยุติเอดส์ตามแผนยุทธศาสตร์เอดส์ชาติปี พ.ศ. 2560-2573 มูลนิธิเอ็มพลัส ดำเนินงานตามรูปแบบ KPLHS (Key population-led Health Services) การให้บริการที่ “นำโดยชุมชน” ทำให้มั่นใจว่าชุดบริการเป็นไปตามความจำเป็น ตรงตามความต้องการของกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบในชุมชน โดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางภายใต้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของประเทศ ด้วยชุดบริการ R-R-T-T-P-R (Reach-Recruit-Test-Treat-Prevent-Retain) นอกจากนี้ เอ็มพลัสได้ร่วมจัดบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure prophylaxis: PrEP) ร่วมกับโรงพยาบาลนครพิงค์ “นครพิงค์โมเดล” ซึ่งเป็นแนวทางการจัดบริการ PrEP ให้ประเทศสามารถนำโมเดลนี้ไปขยายต่อยังพื้นที่ต่างๆ
ประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิเอ็มพลัสที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นรูปแบบการทำงานที่เข้าถึงกลุ่มประชากรหลักได้เป็นอย่างดี ทำให้มีการขยายพื้นที่ไปเปิดมูลนิธิเอ็มพลัส จังหวัดเชียงรายในปี พ.ศ 2560จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2561 และจังหวัดนครราชสีมาในปี พ.ศ. 2563 ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก USAID, GF (Global fund) และสปสช (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) นอกจากนี้ เอ็มพลัสยังทำงานร่วมกับภาครัฐและโรงพยาบาลเพื่อจัดกิจกรรมและให้บริการตรวจเอชไอวีในอีก 6 จังหวัดได้แก่ ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และสุรินทร์
เอ็มพลัสมีความโดดเด่นในการทำงานเชิงรุกเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรเป้าหมาย สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และแจกอุปกรณ์ป้องกัน ถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเข้าถึงแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม การจัดกิจกรรมรณรงค์ การเข้าถึงคนที่มีความเสี่ยงสูงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และจากกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้กลุ่มประชากรเป้าหมายมีทางเลือกในการป้องกันเอชไอวีที่เหมาะกับวิถีชีวิตของตน เข้าถึงการตรวจเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสะดวก เข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสทันที
เอ็มพลัสมีเจ้าหน้าที่ชุมชนที่เป็นกลุ่มประชากรหลักที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้บริการร่วมกับสหวิชาชีพ ได้แก่แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เภสัช เพื่อให้บริการตรวจเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ฟรี สำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ให้บริการรักษาเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสภายในวันเดียวกับที่ทราบผล (Same-day ART) รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) ยาป้องกันเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ (PEP) เป็นต้น
เอ็มพลัสเป็นองค์กรภาคประชาสังคมแห่งแรกของประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับส่งต่อเฉพาะด้านเทคนิคการแพทย์ โดยคลินิกเทคนิคการแพทย์เอ็มพลัสขึ้นทะเบียนในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562 และทั้ง 4 ศูนย์ของมูลนิธิเอ็มพลัส ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยจัดบริการเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ให้ “เอ็มพลัส “เป็นพื้นที่ปลอดภัย อยู่ในความรู้สึกและจิตใจของเพื่อนๆ เรา เพื่อให้เอ็มพลัส ร่วมสร้างประสบการณ์ความสุขและความทรงจำให้กับทุกคน where community fulfills your happiness …ชุมชนที่เติมเต็มความสุขให้กับทุกคน…”
ความใฝ่ฝันของเราคือการสร้างความแตกต่างในชีวิตของเยาวชน LGBTQI+ ในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของ LGBTQI+ ทุกคน โดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของสมาชิกที่อายุน้อยกว่าในชุมชน เราจะพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สื่อสารประสบการณ์และบทเรียนของเราให้กับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
LGBTQI+ ทุกคนและกลุ่มประชากรหลัก โดยเฉพาะเยาวชน สามารถเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากบริการ เอชไอวี/สุขภาวะทางเพศ และจากบริการทางสังคมที่พวกเขาต้องการ ด้วยสิทธิที่เท่าเทียมกัน
เพื่อเป็นผู้นำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและสิทธิของ LGBTQI+ – บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และให้บริการที่ครอบคลุมโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เช่น สุขภาพทางเพศ การคุ้มครองทางสังคม และการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม
มูลนิธิเอ็มพลัส มีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 9 จังหวัด แบ่งเป็นตั้งสำนักงานมูลนิธิ และขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์ 4 แห่ง และดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับ ภาครัฐ และโรงพยาบาลในจังหวัด อีก 5 พื้นที่ พื้นที่ดำเนินงานที่มีสำนักงานและคลินิกเทคนิคการแพทย์ ได้แก่
พื้นที่ดำเนินงาน ที่ทำงานประสานความร่วมมือเป็นการออกหน่วยโมบาย VCT ร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ ประกอบด้วย